ปุ๋ยยูเรีย (Urea fertilizer)

ปุ๋ยยูเรีย คือสารอินทรีย์สังเคราะห์* ที่มีไนโตรเจน (N) เป็นส่วนประกอบในอัตราส่วนที่สูงมากถึงร้อยละ 46 โดยน้ำหนัก ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมีมาตรฐาน ที่สำคัญที่สุด สูตรปุ๋ยของปุ๋ยยูเรีย คือ 46-0-0 เนื่องจากมีสัดส่วนไนโตรเจนสูงที่สุด จึงใช้เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นธาตุอาหารหลักของพืช โดยเฉพาะในช่วงแรกของการเพาะปลูกที่ต้องเร่งการเจริญเติบโตของพืชอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชมีลำต้นยาว มีใบดก ใบใหญ่ ใบสีเขียวเข้ม น้ำหนักดี

ปุ๋ยยูเรีย ตามกฎหมาย
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ตามกฎหมายเรียกว่า “ปุ๋ยเคมียูเรีย” โดยต้องมีปริมาณไนโตรเจนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 44 ของน้ำหนัก มีปริมาณไบยูเร็ตต่ำกว่าร้อยละ 1 ของน้ำหนัก และมีปริมาณความชื้นต่ำกว่าร้อยละ 3 ของน้ำหนัก

  • สารอินทรีย์ คือสารที่ได้มาจากสิ่งมีชีวิต ข้อมูลบางแหล่งจึงจัดปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งไม่ถูกต้อง และกฎหมายไทยถือว่า ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมี
  • ยูเรีย เป็นสารอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นจากสารอนินทรีย์ได้ชนิดแรกของโลก และปฏิวัติวงการเคมี ที่เคยเชื่อว่าสารอินทรีย์ต้องได้มาจากสิ่งมีชีวิตเท่านั้น

ชื่ออื่น ๆ ของปุ๋ยยูเรีย (urea fertilizer)
• ยูเรีย (urea)

• ยูเรีย 46-0-0

• ปุ๋ย 46-0-0

• ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0

• ปุ๋ยเคมียูเรีย

• แม่ปุ๋ยยูเรีย

• แม่ปุ๋ยไนโตรเจน

• ปุ๋ยไนโตรเจน (Nitrogen fertilizer)

• คาร์บาไมด์ (carbamide)

• carbonyl diamide

• carbonyldiamine

• diaminomethanal

• diaminomethanone

สูตรเคมีของปุ๋ยยูเรีย (urea chemical formula)
ปุ๋ยยูเรีย มีสูตรเคมีคือ CH4N2O หรือ CO(NH2)2 บางครั้งเขียน NH2CONH2 เพื่อแสดงถึงลักษณะโครงสร้างยูเรีย และการจับตัวของโมเลกุลกลุ่มอะมิโน (NH2) 2 กลุ่ม กับ โมเลกุลกลุ่มคาร์บอนิล (C=O)

โมเลกุลปุ๋ยยูเรีย (urea molecule)

โมเลกุลปุ๋ยยูเรีย
โมเลกุลปุ๋ยยูเรีย

ราคาปุ๋ยยูเรีย (urea price)
ราคาปุ๋ยยูเรีย ขึ้นลงตามตลาดโลก อันเนื่องมาจากต้นทุนวัตถุดิบ บางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากก๊าซธรรมชาติ ส่วนบางโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียจากถ่านหิน ต้นทุนการผลิต ต้นทุนค่าขนส่ง อัตราแลกเปลี่ยน ภาษี ปุ๋ยยูเรีย ถือได้ว่าเป็นสินค้าประเภทคอมโมดิตี้ (commodity) ที่มีการซื้อขายกันโดยทั่วไป และมีราคาซื้อขายล่วงหน้า แต่ปัจจัยที่มีผลต่อราคาปุ๋ยยูเรียอย่างมาก คือ ปริมาณความสามารถของการผลิตโดยรวม ปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยโดยรวม (demand – supply) และปริมาณปุ๋ยยูเรียคงคลังที่เก็บไว้เพื่อจำหน่าย และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกมาก ตรวจสอบราคา ปุ๋ยยูเรีย ล่าสุดที่นี่

กรรมวิธีการผลิตปุ๋ยยูเรีย (urea production)
เริ่มจากการดูดก๊าซไนโตรเจน (N2) จากอากาศ และนำก๊าซธรรมชาติมาผลิตก๊าซไฮโดรเจน (H2) (บางโรงงานผลิตจากถ่านหิน) มาผ่านกระบวนการผลิตเป็นแอมโมเนีย (NH3) และได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) หลังจากนั้นนำแอมโมเนียเหลว และ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ผลิตได้ก่อนหน้านี้มาผ่านขบวนการทางเคมี ที่ความร้อนสูงประมาณ 180°C ที่ความดันประมาณ 200 บาร์ แล้วนำมาตกผลึก จะได้เป็นปุ๋ยยูเรีย

อาจกล่าวได้อย่างง่าย ๆ ว่า ปุ๋ยยูเรียเป็นปุ๋ยที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ (เพราะก๊าซไนโตรเจนดูดมาจากอากาศ)

อย่างไรก็ตามในขบวนการผลิต จะได้สารพิษที่ไม่ต้องการปะปนมาด้วยคือ ไบยูเร็ต (biuret) ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมให้มีปริมาณต่ำ และใช้เป็นตัวแบ่งเกรดปุ๋ยยูเรีย โดยทั่วไป กำหนดให้ไบยูเร็ตไม่เกิน 1%

อันเนื่องมาจากการผลิตแอมโมเนีย ต้องใช้ก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) เป็นวัตถุดิบ ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติ (หรือถ่านหิน) มีผลโดยตรงต่อต้นทุนการผลิตปุ๋ยยูเรีย และส่งผลต่อราคาขายปุ๋ยยูเรียอีกด้วย

คุณสมบัติของปุ๋ยยูเรีย (urea property)
มีผลึกสีขาว มีกลิ่นเฉพาะตัว ดูดความชื้นได้ดี ละลายน้ำได้ดีมาก ที่อุณหภูมิห้อง ยูเรีย 1.5 กิโลกรัม สามารถละลายหมดในน้ำเปล่า 1 กิโลกรัมได้ มีจุดหลอมเหลวประมาณ 133 องศาเซลเซียส (สูงกว่าน้ำเดือด) ไม่ติดไฟ

ชนิดของปุ๋ยยูเรีย (urea type)
1.ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม (granular urea)
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดใหญ่ 2-4 มิลิเมตร มีสีขาวเหมือนเม็ดโฟม นิยมใช้ทางการเกษตร เหมาะกับการหว่าน และใช้กับเครื่องพ่นปุ๋ยทั่วไปได้

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เป็นแม่ปุ๋ยหลักไนโตรเจน สำหรับโรงงานผลิตปุ๋ยบัลค์ โดยนำไปบัลค์ปุ๋ย (คลุกปุ๋ย) กับแม่ปุ๋ยชนิดอื่น เช่น แม่ปุ๋ยแดป (DAP) 18-46-0 แม่ปุ๋ยม็อบ (MOP) 0-0-60 และฟิลเลอร์ ด้วยการคลุกเคล้า เพื่อให้ได้ปุ๋ยสูตรต่าง ๆ ตามต้องการ เช่น ปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-15 ปุ๋ยสูตร 16-16-8

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม
ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม

ขนาดเม็ด อยู่ที่ 2 – 4 มิลลิเมตร โดยประมาณ

ขนาดปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม
ขนาดปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม

2.ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู (prilled urea)
ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก หรือเม็ดสาคู เป็นปุ๋ยที่มีเม็ดขนาดเล็ก 1-3 มิลิเมตร มีสีขาวใสเหมือนเม็ดสาคู เฉพาะในประเทศไทยนิยมใช้ทางการเกษตรน้อยกว่าปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม แต่ใช้ได้ดีกับต้นไม้เหมือนปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม เพียงแต่ไม่เป็นที่คุ้นเคยของเกษตรกร ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ไม่สามารถใช้บัลค์ปุ๋ยได้เนื่องจากเม็ดมีขนาดเล็ก

ที่สำคัญปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็กนิยมใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์เพื่อเสริมโปรตีน (ไม่ใช้ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม) เพื่อเพิ่มโปรตีนสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้องต่าง ๆ เช่น วัว ควาย แพะ แกะ

นอกจากนี้ปุ๋ยยูเรียเม็ดเล็ก ยังใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น

ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นสารให้ความเย็น เนื่องจากปุ๋ยยูเรียเวลาละลาย จะมีความสามารถดูดความร้อนได้สูง (ทำให้สิ่งรอบข้างเย็นลง)

ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมในพลาสติก เพื่อเพิ่มคุณสมบัติที่ดี

ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นกาว

ปุ๋ยยูเรีย ใช้เป็นส่วนผสมวัตถุไวไฟ

และอื่น ๆ อีกมากมาย

ปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู
ปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู

ขนาดเม็ด อยู่ที่ 1 – 3 มิลลิเมตร โดยประมาณ

ขนาดปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู
ขนาดปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู

ปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 ชนิดมีสูตรเคมี และคุณสมบัติทางเคมี ที่เหมือนกัน แตกต่างกันเพียงลักษณะทางกายภาพของเม็ดปุ๋ยเท่านั้น คือ ขนาดเม็ดใหญ่เล็กแตกต่างกัน

เปรียบเทียบลักษณะ ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม ปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู

ปุ๋ยยูเรียเม็ดโฟม

ปุ๋ยยูเรียเม็ดสาคู
ไนโตรเจน

มากกว่า 46% มากว่า 46%
ขนาด *

2.0 – 4.0 มิลลิเมตร มากกว่า 90%

1.0 – 2.5 มิลลิเมตร มากกว่า 90%

ไบยูเร็ต

ไม่เกิน 1% ไม่เกิน 1%
ความชื้น **

ไม่เกิน 0.5% ไม่เกิน 0.5%
สี

ขาวสะอาด ไม่มีเม็ดดำเจือปน ขาวสะอาด ไม่มีเม็ดดำเจือปน
กัมมันตภาพรังสี

ไม่มี ไม่มี
อื่น ๆ
เทไหลได้ ไม่จับเป็นก้อนแข็ง

ไม่มีสารพิษใด ๆ เจือปน

เทไหลได้ ไม่จับเป็นก้อนแข็ง
ไม่มีสารพิษใด ๆ เจือปน

Granular urea and Prilled urea comparasion table

Granular urea

Prilled urea
Nitrogen

46% min 46% min
Size

2.0 – 4.0 mm 90% min

1.0 – 2.5 mm 90% min

Biuret

1% max 1% max
Moisture

0.5% max 0.5% max
Colour

Pure White Pure White
Radiation

Non-Radioactive Non-Radioactive
Etc
Free Flowing

Free from harmful substances

Free Flowing
Free from harmful substances

  • ขนาด เป็นอย่างเดียวที่แตกต่างกัน ของปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 ชนิด

** ความชื้น ปุ๋ยของเรามีความชื้นต่ำมาก ทำให้เก็บไว้ได้นาน โดยไม่เสื่อมสภาพ

ประโยชน์ของยูเรียเป็นปุ๋ย (urea as fertilizer)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นแม่ปุ๋ยที่ให้แร่ธาตุอาหารหลักไนโตรเจน ซึ่งพืชทุกชนิดมีความต้องการในปริมาณที่สูงมาก โดยทั่วไปไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุอาหารในดินที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่เพิ่มในทุกกรณี เพื่อให้พืชเจริญเติบโตงอกงาม ได้ผลผลิตที่ดี โดยปุ๋ยยูเรีย ช่วยทำให้พืชมีใบสีเขียว มีส่วนในการสังเคราะห์แสง ทำให้พืชเจริญเติบโตมีความสูง ใบเจริญงอกงามมีขนาดใหญ่ ใบดกหนา ใบสีเขียวเข้ม และช่วยเพิ่มโปรตีนในผลผลิต

ประโยชน์ของยูเรียเป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีน (urea as feedstuff)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 นิยมใช้เป็นอาหารสัตว์เสริมโปรตีนที่สำคัญสำหรับสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัวเนื้อ วัวนม ควาย โค กระบือ แพะ แกะ กวาง เพราะจุลอินทรีย์ในกระเพาะหมัก (rumen หรือ กระเพาะ ผ้าขี้ริ้ว) ของสัตว์เคี้ยวเอี้องสามารถเปลี่ยนยูเรียในอาหารให้เป็นก๊าซแอมโมเนีย ซึ่งอุดมด้วยธาตุไนโตรเจนที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโน เพื่อให้สัตว์นำไปสร้างเป็นโปรตีน นอกจากนี้ยูเรียถือเป็นอาหารเสริมสำหรับสัตว์ที่ให้โปรตีนในราคาถูกที่สุด ถูกกว่าปลาป่น และกากถั่วต่าง ๆ เพราะให้โปรตีนสูงถึง 287.5 เปอร์เซนต์

ข้อควรระวัง

ไม่สามารถให้ยูเรียเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องได้โดยตรง หรือให้เป็นอาหารสัตว์ในปริมาณมากเกินไป เพราะอาจเป็นอันตรายและทำให้สัตว์ตายได้

ประโยชน์ของยูเรียเป็นสารเคมี (urea as chemicals)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้เป็นสารเคมี ที่เป็นส่วนประกอบในขบวนการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคหลายชนิด เช่น เป็นส่วนผสมในการผลิตปลั๊กไฟฟ้า เป็นส่วนผสมในการผลิตสารให้ความเย็น เป็นส่วนผสมในการผลิตกาว เป็นส่วนผสมในการพิมพ์สีผ้า เป็นต้น

การให้ธาตุอาหารไนโตรเจนของปุ๋ยยูเรีย (how urea nutrient works)
ไนโตรเจน (N2) เป็นแก๊สที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ โดยมีมากถึง 78% (มากกว่าแก๊สออกซิเจนที่เราใช้หายใจ) แต่เนื่องจากไนโตรเจนเป็นแก๊สเฉื่อย มีโครงสร้างโมเลกุลยึดเกาะกันอย่างแข็งแรง พืชไม่สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง อีกทั้งไนโตรเจนไม่สามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้โดยง่าย ทำให้ในธรรมชาติและในดินมีไนโตรเจนซึ่งอยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้น้อยมาก ดินทั่วไปโดยเฉพาะดินสำหรับการเพาะปลูกถูกพืชดูดซึมไนโตรเจนไปใช้จนหมด ทำให้คลาดแคลนไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืชอีกต่อไป มีความจำเป็นต้องเติมไนโตรเจนกลับลงสู่ดินในรูปที่พืชดูดซึมไปใช้ได้ในรูปของปุ๋ย และปุ๋ยที่ให้ธาตุไนโตรเจนสูงที่สุดคือปุ๋ยยูเรีย

เมื่อเติมปุ๋ยยูเรียลงในดินจะเกิดกระบวนการดังนี้

• ปุ๋ยยูเรีย เมื่อละลายน้ำจะถูกแบคทีเรียในดินย่อยสลายจะเปลี่ยนรูปเป็น แอมโมเนีย (NH3)

• แอมโมเนียบางส่วน จะระเหยสูญเสียไปจากดิน

• แอมโมเนีย เมื่อโดนความชื้นจะเปลี่ยนรูปเป็นแอมโมเนียม (NH4+)

• แอมโมเนียม จะจับกับอนุภาคดินที่เป็นประจุลบ เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

• แอมโมเนียมบางส่วน จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนไตรท์ (NO2-)

• ไนไตรท์ จะผ่านกระบวนการไนตริฟิเคชั่นถูกแบคทีเรียเปลี่ยนรูปเป็น ไนเตรท (NO3-)

• ไนเตรท เป็นธาตุอาหารไนโตรเจนที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้

• เนื่องจากไนเตรทมีประจุลบไม่จับกับอนุภาคดิน ไนเตรทบางส่วนจะถูกชะล้างสูญเสียไปจากดิน

อัตราการใช้ปุ๋ยยูเรีย วิธีใช้ และระยะเวลาที่ใช้ (urea usage)
ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ลักษณะของดิน ปริมาณของสารอาหารในดิน และที่สำคัญขึ้นอยู่กับประเภทและชนิดของพืชที่ปลูก พันธุ์พืชที่ปลูก

ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 เป็นปุ๋ยที่ละลายน้ำได้ดีมาก และพืชจึงสามารถดูดซึมธาตุไนโตรเจนไปใช้ได้ทั้งจากทางรากและทางใบ เพราะฉะนั้น การใส่ปุ๋ยยูเรียต้องใส่ในขณะที่ดินเปียกชื้นพอเหมาะ

นาข้าว (rice)
• สำหรับพันธุ์ข้าวไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้เฉพาะนาปีเท่านั้น ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 5-10 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงก่อนข้าวออกดอก 30 วัน
• สำหรับพันธุ์ข้าวไม่ไวต่อช่วงแสง ซึ่งปลูกได้ทั้งนาปีและนาปรัง ใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-15 กิโลกรัม หว่านให้ทั่วแปลงหลังปักดำข้าว 35-45 วัน

พืชไร่ชนิดต่าง ๆ
อ้อย (sugar cane)
• สำหรับอ้อยปลูก ใช้ยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50-80 กิโลกรัมต่อปี แบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง เท่า ๆ กันครั้งแรกหลังปลูกประมาณ 1 เดือน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน
• สำหรับอ้อยตอ นอกเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกต้นฤดูฝน ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรกประมาณ 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว
• สำหรับอ้อยตอ ในเขตชลประทาน ใส่ครั้งแรกหลังตัดแต่งตอ ครั้งที่สองหลังจากใส่ครั้งแรก 30-60 วัน โดยวิธีโรยข้างแถว

สับปะรด (pineapple)
ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 25 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบหลังจากปลูก 30 วัน

ข้าวโพด ข้าวฟ่าง (corn and millet)
ใช้ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 10-20 กิโลกรัม โรยข้างแถว แล้วพรวนดินกลบเมื่อมีอายุ 25-30 วัน

พืชผัก ชนิดต่าง ๆ (vegetable)
ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ใช้ได้กับมะเขือเทศ แตงโม พริก กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก หอมหัวใหญ่ กระเทียม มันฝรั่ง มันเทศ และพืชผักทุกชนิด
โดยแบ่งอัตราการใส่ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ออกเป็น 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อต้นพืชอายุประมาณ 10-15 วัน โดยหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม ครั้งที่สองใช้หลังหว่านปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ครั้งแรกประมาณ 30-45 วัน อัตราไร่ละ 50 กิโลกรัม

ข้อควรระวังของการใช้ปุ๋ยยูเรีย (urea usage caution)
การใช้ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีชนิดอื่น ๆ ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น จะทำให้มีปุ๋ยตกค้างในดิน ทำให้ดินเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางกายภาพ ทำให้ดินแข็ง รากพืชชอนไชหาอาหารได้ไม่ดี ทำให้ดินเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมี ทำให้ดินเค็ม

ถ้าใช้ปุ๋ยยูเรียในปริมาณที่สูงเกินไปมาก จะทำให้พืชมีใบสีเขียวเข้ม มีใบเพิ่มผิดปกติ อาจทำให้พืชเฉาและตายได้ (น็อคปุ๋ย) ได้ผลผลิตต่อไร่ต่ำ ในกรณีต้นข้าว จะได้ข้าวเมล็ดเล็กลีบกว่าปกติ ทำให้ต้นพืชอ่อนแอไม่แข็งแรง และเป็นโรคได้ง่าย เช่น โรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา ที่เคยระบาดในจังหวัดมหาสารคาม หนองบัวลำภู อันเนื่องมาจากใช้ปุ๋ยยูเรียปริมาณสูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้นข้าวอวบ ใบข้าวอวบ แต่เปราะและอ่อนแอ ติดโรคไหม้ข้าวได้ง่าย

เคยมีผลสำรวจการใช้ปุ๋ยยูเรียจากทางการ ปรากฏว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยยูเรียมากเกินความจำเป็น เพราะคิดว่ายิ่งใส่ปุ๋ยปริมาณมาก จะทำให้ได้ผลผลิตปริมาณมากตาม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะนอกจากปุ๋ยส่วนเกินที่พืชไม่ได้ดูดซึมไปใช้แล้ว ทำให้ปุ๋ยตกค้าง และเป็นผลเสียต่อดินในระยะยาว และเป็นความสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ

วิธีที่ถูกต้องคือ ต้องศึกษาลักษณะของดิน เคมีของดิน ปริมาณแร่ธาตุอาหารในดิน ปริมาณปุ๋ยที่มีอยู่ในดิน ก่อนการเพาะปลูกในแต่ละครั้ง ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรไม่สามารถคาดเดาได้ง่าย ๆ จากประสบการณ์ ควรส่งดินไปตรวจสอบที่หน่วยเกษตรเป็นระยะ เพื่อจะได้รู้ปริมาณปุ๋ยและแร่ธาตุในดิน เพื่อจะได้เลือกประเภทปุ๋ย และสัดส่วนการใส่ปุ๋ยได้ถูกต้องเหมาะสม ตลอดจนจังหวะเวลาในการใส่ปุ๋ย เพื่อให้พืชสามารถดูดซึมไปใช้งานได้สูงสุดไม่เหลือตกค้าง และยังเป็นการประหยัดค่าปุ๋ยได้อย่างดี

อย่างไรก็ได้ได้มีผลการวิจัย สรุปว่าการใช้แต่ปุ๋ยยูเรีย หรือปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว กลับจะทำให้โครงสร้างดิน สมดุลของดินเสีย ตลอดจนได้ผลผลิตปริมาณต่ำ ควรใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ ควบคู่กันไปด้วยในสัดส่วนที่เหมาะสม

ข้อมูลเพิ่มเติมการใช้ปุ๋ยยูเรีย
ถ้าไม่แน่ใจวิธีการใช้ปุ๋ย สามารถขอข้อมูลได้ที่ กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือสอบถามเบื้องต้นได้ที่ Thaifertilizer ฝ่ายวิชาการของเรา พร้อมที่จะให้ความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการใช้ปุ๋ยแก่ท่าน

ปุ๋ยยูเรีย Thaifertilizer.com

ถุงปุ๋ยยูเรีย 50 กิโลกรัม
ถุงปุ๋ยยูเรีย 50 กิโลกรัม

รายงานผลการวิเคราะห์ปุ๋ยยูเรีย ล่าสุด ณ ธันวาคม 2555

รายงานผลการวิเคราะห์ปุ๋ยยูเรียนำเข้า
รายงานผลการวิเคราะห์ปุ๋ยยูเรียนำเข้า

• ปุ๋ยยูเรียของเราเป็นปุ๋ยคูณภาพสูง มีปริมาณไนโตรเจนสูง สูงถึง 46.34%

• มีปริมาณสารพิษไบยูเร็ตต่ำ ต่ำเพียง 0.87%

• มีความชื้นต่ำ ต่ำเพียง 0.21%

ปุ๋ยยูเรียของเรา เป็นปุ๋ยยูเรียราคาถูก คุณภาพสูง นำเข้าโดยตรงจากโรงงานผู้ผลิตขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐาน ทำให้ปุ๋ยของเราได้มาตรฐาน คุณภาพสูง มีปริมาณไนโตรเจนสูงมากกว่า 46% มีไบยูเร็ต (Biuret) หรือสารตกค้างจากขบวนการผลิตที่ไม่ต้องการ และเป็นอันตรายต่อพืชในปริมาณต่ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน คือต่ำกว่า 1% ตลอดจนมีความชื้นต่ำ คือต่ำกว่า 0.5% โรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียที่เป็นคู่ค้าของเรา ได้มาตรฐาน ISO9001 มาตรฐาน ISO14001 และมาตรฐานการผลิตที่สำคัญอื่น ๆ ทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพของปุ๋ยยูเรียที่เราจำหน่าย

ThaiFertilizer จำหน่ายปุ๋ยยูเรียทั้งปลีกและส่ง ในราคาถูกกว่าท้องตลาด แต่ด้วยคุณภาพ 100% เสมอ
• เราไม่จำหน่ายปุ๋ยยูเรีย ที่เป็นปุ๋ยปลอม ปุ๋ยปลอมปน ปุ๋ยเกรดต่ำกว่ามาตรฐาน ปุ๋ยที่ถูกน้ำท่วม ปุ๋ยเก่าค้างสต็อค

• ปุ๋ยยูเรียสำหรับลูกค้าปลีก เราจำหน่ายปุ๋ยยูเรียตั้งแต่ 15 ตันขึ้นไป

• ปุ๋ยยูเรียสำหรับลูกค้าส่ง เราสามารถส่งปุ๋ยยูเรียให้ได้ครั้งละ 5,000 ตัน ถึง 25,000 ตัน ต่อการสั่งซื้อหนึ่งครั้ง

กรุณาติดต่อเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หรือสั่งจองปุ๋ยยูเรียล่วงหน้า

Thaifertilizer เป็นผู้นำเข้าปุ๋ยยูเรียคุณภาพสูงจริง มีใบอนุญาตนำเข้า นำเข้าปุ๋ยผ่านพิธีการศุลกากรถูกต้องตามกฎหมาย ปุ๋ยที่นำเข้ามาจากต่างประเทศทุกครั้ง ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจริงทุก ๆ ครั้ง จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีใบแจ้งยืนยันผลการตรวจวิเคราะห์จริง คุณภาพสูงได้มาตรฐาน

นอกจากเรื่องปุ๋ยยูเรียที่เราควบคุมคุณภาพสูงแล้ว เรายังควบคุมราคาขายให้ต่ำที่สุด โดยเน้นกำไรน้อยแต่ขายปริมาณมาก ๆ แทน เพราะปลายทางของปุ๋ยยูเรียผู้ที่จ่ายเงินซื้อจริง ๆ คือ ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ผู้มีรายได้น้อย และด้วยวิธีการบริหารงานแบบใหม่ ทำให้มีต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำ เราจึงสามารถจำหน่ายปุ๋ยยูเรียคุณภาพสูง ราคาต่ำกว่าท้องตลาดได้จริง

สนใจเชิญตรวจสอบ ราคาปุ๋ยยูเรียวันนี้

จ่ายแพงกว่าทำไม
ท่านทราบหรือไม่ว่า ปุ๋ยยูเรียในประเทศไทยเป็นปุ๋ยยูเรียนำเข้าจากต่างประเทศ (เนื่องจากประเทศไทย ไม่มีโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียเอง) ทำให้คุณภาพของปุ๋ยยูเรีย ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโรงงานที่ผลิต และเกรดของปุ๋ยยูเรียที่นำเข้ามาจำหน่าย หลายโรงงานผลิตปุ๋ยยูเรียหลายเกรด หลายราคาตามความต้องการของผู้นำเข้า

ปุ๋ยยูเรีย แท้ ๆ ต้องมีปริมาณไนโตรเจน 46% (บวกลบ ได้นิดหน่อย)

ปุ๋ยยูเรียที่จำหน่ายในประเทศไทย มี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ปุ๋ยยูเรียแท้ กับปุ๋ยยูเรียปลอม

• ปุ๋ยยูเรียแท้ มีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของโรงงาน การควบคุมการผลิต แต่อย่างไรก็ตามปริมาณไนโตรเจนในปุ๋ยยูเรียต้องอยู่ในเกณฑ์สูง มากกว่า 44%

• ปุ๋ยยูเรียปลอม คือปุ๋ยยูเรียที่นำปุ๋ยยูเรียแท้มาผสมตัวเติม (filler) เพื่อให้ได้ปริมาณและน้ำหนักเพิ่มขึ้น ทำให้มีเนื้อปุ๋ยแท้ไม่เต็ม 100% มีเปอร์เซนต์เฉลี่ยไนโตรเจนต่ำลง บางโรงงานใส่ปุ๋ยยูเรียแท้เพียงครึ่งเดียว นำมาขายราคาถูก ทำให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซนต์ไนโตรเจนเหลือเพียง 50% ได้ปุ๋ยยูเรีย 23% ซึ่งถือได้ว่าเป็น ปุ๋ยยูเรียปลอม

ปุ๋ยยูเรียแท้เกรดเดียวกันที่มีสเป็คเหมือนกัน มีคุณภาพเหมือนกันทุกประการ มีปริมาณไนโตรเจนเท่ากัน ถึงแม้จะผลิตจากโรงงานคนละโรงงาน เปรียบเทียบได้กับน้ำมันรถยนต์ ที่มีจำหน่ายหลายยี่ห้อ ถ้าเกรดเดียวกัน เกรดสูงเป็นน้ำมันเกรด 95 เหมือนกัน มีคุณภาพเหมือนกัน เพราะฉะนั้นปุ๋ยยูเรียเกรดไนโตรเจน 46% เหมือนกัน มีคุณภาพเหมือนกัน

แต่ถ้าปุ๋ยยูเรียเกรดต่ำ จะมีคุณภาพต่ำตามสเป็คที่กำหนด ไม่ว่าผลิตจากโรงงานไหน เปรียบเทียบได้กับน้ำมันเกรดต่ำเป็นน้ำมัน เกรด 91 คุณภาพจะต่ำเหมือนกันทุกโรงงาน และคุณภาพจะต่ำกว่าเกรด 95 เพราะฉะนั้นปุ๋ยยูเรียเกรดไนโตรเจน 44% เหมือนกัน มีคุณภาพเหมือนกัน แต่คุณภาพจะต่ำกว่าปุ๋ยยูเรียไนโตรเจน 46%

ปุ๋ยยูเรียยี่ห้อดังในเมืองไทย เช่น ปุ๋ยยูเรียตรากระต่าย ปุ๋ยยูเรียตราหัววัวคันไถ ปุ๋ยยูเรียตรามงกุฎ ปุ๋ยยูเรียตราม้าบิน

จ่ายแพงกว่าทำไม เพื่อซื้อปุ๋ยยี่ห้อดัง

เมื่อท่านต้องการซื้อปุ๋ยยูเรียคุณภาพสูง ให้ดูที่สเป็คและราคาเป็นหลัก ถ้าสเป็คเดียวกัน ซื้อปุ๋ยยูเรียราคาถูกย่อมประหยัดกว่า ในคุณภาพเท่ากัน ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ตาม ท่านไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าปุ๋ยราคาแพง ให้กับค่ายี่ห้อ ค่าการตลาด ค่าโฆษณา ค่าเงินเดือนผู้บริหาร

ข้อควรระวัง

• อย่านำราคาของปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 (N 46%) ไปเปรียบเทียบกับปุ๋ยยูเรียคุณภาพต่ำ 44-0-0 (N 44%)

• อย่านำราคาของปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ไปเปรียบเทียบกับปุ๋ยสเป็คต่ำ ปุ๋ยเคมี 30-0-0 ซึ่งมีปุ๋ยยูเรียเพียง 65% เท่านั้น

• อย่านำราคาของปุ๋ยยูเรียแท้ ไปเปรียบเทียบกับปุ๋ยยูเรียปลอม (เขียน ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 แต่มีปุ๋ยยูเรียไม่ถึง 46%)

ทำไมเราขายปุ๋ยยูเรียคุณภาพสูงราคาถูกมากได้
• เราเป็นผู้นำเข้าปุ๋ยยูเรียโดยตรงจากต่างประเทศ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง

• เรานำเข้าปุ๋ยยูเรีย ในปริมาณที่เหมาะสมกับการขาย ไม่มากเกินไปจนต้องแบกต้นทุกดอกเบื้ย และเสี่ยงกับความผันผวนของราคาปุ๋ยยูเรียโลก และค่าเงินบาท

• เราขายปุ๋ยยูเรียราคาถูกปริมาณมาก ถึงกำไรต่อหน่วยต่ำแต่เน้นขายมาก จึงพอมีกำไรและอยู่ในธุรกิจปุ๋ยยูเรียได้
• โครงสร้างบริษัทมีการบริหารจัดการสมัยใหม่ มีขนาดเล็ก ทำให้มีต้นทุนโสยหุ้ยในออฟฟิตต่ำ ต้นทุนแรงงานต่ำ
• เราไม่เน้นทำการตลาดแบบเหวี่ยงแห ไม่ใช้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ราคาแพง ทำให้ค่าใช้จ่ายต่ำ

ปุ๋ยยูเรียที่มีคำสั่งซื้อครั้งละหลายหมื่นตัน
กราบเรียนท่านลูกค้า ที่ได้รับคำสั่งซื้อปุ๋ยยูเรียจากต่างประเทศครั้งละหมื่นตัน หรือหลายหมื่นตัน จากประเทศต่าง ๆ เช่น ไนจีเรีย แอฟริกาใต้ บราซิล หรือแม้กระทั่งคำสั่งซื้อปุ๋ยยูเรียจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกปุ๋ยยูเรียเอง เช่น อินเดีย เมเลเซีย อินโดนีเซีย อียิปต์

ขอให้ท่านได้โปรดตะหนัก และทบทวนความเป็นได้อย่างถี่ถ้วน สำหรับคำสั่งซื้อปุ๋ยดังกล่าวมีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะคำสั่งซื้อที่มาจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกปุ๋ยยูเรียเอง ว่ามันผิดปกติไหม ทำไมประเทศผู้ผลิตและส่งออกปุ๋ย ต้องมาสั่งซื้อปุ๋ยจากท่านซึ่งไม่ใช่ประเทศผู้ผลิตแต่ประเทศไทยเป็นผู้นำเข้าปุ๋ยยูเรียมาจากต่างประเทศ (เปรียเสมือนประเทศไทยสั่งซื้อข้าวจากประเทศอินโดนีเซียมาบริโภค) ซึ่งมันแปลกมาก และผิดปกติอย่างยิ่ง ไม่มีเหตุผลใด ๆ โดยสิ้นเชิง

วงเงินสำหรับคำสั่งซื้อปุ๋ยในแต่ละครั้ง มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100 ล้านถึง 1,000 ล้านบาท ท่านโปรดพิจารณาความเป็นไปได้ตามหลักความจริงว่า ท่านต้องการค้าขายกับต่างประเทศ ด้วยวงเงินขนาดนี้ ท่านต้องทำอย่างไร ท่านมีเงินเท่าไรเพื่อเปิดคำสั่งซื้อ หรือ วางเงินค้ำประกันกันคำสั่งซื้ออย่างไร เท่าไร ใช้ธนาคารไหนที่ท่านมีวงเงินอยู่ ถ้าท่านไม่มีวงเงินกับธนาคารอยู่ การขอวงเงินหลัก 100 ล้านหรือ 1,000 ล้านมันยากขนาดไหน

โปรดระมัดระวัง การมองเฉพาะผลประโยชน์ที่ได้มาง่าย ๆ จากการเป็นตัวกลางโดยได้ส่วนต่างครั้งละ 5 ล้านถึง 50 ล้าน อย่างง่าย ๆ แค่เพียงติดต่อผู้ซื้อและผู้ขาย เหมือนกับคำแนะนำจากหนังสือ(คุณภาพต่ำ)บางเล่มที่วางจำหน่าย ว่ามันเป็นไปได้ง่าย ๆ อย่างงั้นจริงหรือ โดยเฉพาะท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการค้าขายยูเรียกับต่างประเทศ อยู่ดี ๆ ได้รับคำสั่งซื้อมาจากอินเตอร์เน็ท

Thaifertilizer ขออภัยล่วงหน้า สำหรับกรณีนี้ ทางเราไม่สะดวกอย่างยิ่งที่จะจำหน่ายปุ๋ยยูเรียให้กับท่าน

(ขอเรียนตามตรง เราได้รับการติดต่อสั่งซื้อแบบนี้มาจำนวนมาก มากมาก แต่ไม่เคยมีของจริงเลยสักครั้ง)

ปุ๋ยยูเรียหลอกลวงจากรัสเซีย ยูเครน และประเทศอื่น ๆ
เนื่องจากขณะนี้ มีผู้ที่แอบอ้างจำนวนมาก ว่าเป็นตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยยูเรียจากรัสเซีย ปุ๋ยยูเรียจากยูเครน (บางครั้งใช้ประเทศอื่น ๆ ก็มีบ้าง) โดยสามารถสั่งซื้อปุ๋ยยูเรียได้ในปริมาณมากและไม่จำกัด ที่สำคัญราคาปุ๋ยต่ำกว่าท้องตลาดมากจนน่าสนใจอย่างยิ่ง

Thaifertilizer ได้ทดลองติดต่อสั่งซื้อปุ๋ยยูเรีย ตลอดจนตรวจสอบผู้ค้าที่อ้างว่าเป็นตัวแทนเหล่านั้นจำนวนหลายราย พบว่าผู้ค้าเหล่านั้น ไม่สามารถสั่งซื้อปุ๋ยยูเรียได้จริงตามข้อกล่าวอ้างเลยสักราย

ตัวแทนส่วนใหญ่เป็นเพียงนายหน้าปุ๋ยที่ได้รับการบอกกล่าวมาต่อ ๆ กัน ต้องการเพียงส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์ก้อนโต หวังรวยทางลัด ไม่มีความรู้เรื่องปุ๋ยยูเรียไม่ทราบรายละเอียดจริง ๆ เกี่ยวกับปุ๋ยที่คิดจะขาย มีเพียงข้อมูลลอย ๆ ขาดความน่าเชื่อถือหาข้อมูลอ้างอิงไม่ได้ ยิ่งถามรายละเอียด ยิ่งไม่ทราบอะไรเลย บางรายยังไม่เคยสัมผัสปุ๋ยยูเรียจริง ๆ เห็นแต่ปุ๋ยจากรูปถ่ายทางเวปเท่านั้น ไม่รู้จริง ๆ ว่าปุ๋ยยูเรียขนาดหมื่นตัน หรือแสนตัน มีปริมาณมากเท่าใด ใช้วิธีใดขนส่ง บรรจุภาชนะอะไร จัดเก็บได้อย่างไร ไม่มีแม้แต่ใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยยูเรีย และไม่รู้ด้วยว่าการขอใบอนุญาตยากมากแค่ไหน

บางรายอ้างว่ามีทหารระดับสูงเป็นผู้ถือหุ้น มีหนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ (เราก็เคยเจอมาแล้ว)

บางรายอ้างว่าได้ทำสัญญากับรัฐบาลรัฐเซีย มีใบอนุญาตจากกระทรวงการค้าของรัฐเซีย (เราก็เคยเจอมาแล้วอีกเช่นกัน) โดยหารู้ไม่ว่า ผู้นำเข้าปุ๋ยจากรัฐเซีย ไม่จำเป็นต้องสมัครหรือลงทะเบียนกับกระทรวงการค้ารัสเซีย

ปุ๋ยยูเรียปริมาณไม่จำกัดก็ไม่มีจริงเช่นกัน เพราะโรงงานผลิตแต่ละแห่งเป็นโรงงานขนาดใหญ่ลงทุนหลายหมื่นล้านบาท มีกำลังการผลิตจำกัด ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ในทันที

ปุ๋ยยูเรียนำเข้าปริมาณ 1 แสนตัน วงเงินซื้อขายต้องใช้มากถึงหลักพันกว่าล้านบาท หรือถ้าเป็นเรือขนส่งปุ๋ยยูเรียขนาดปกติ 25,000 ตัน ก็ต้องใช้วงเงินหลายร้อยล้านบาท ท่านคิดว่าธนาคารจะสามารถให้วงเงินสินเชื่อ (เพื่อใช้ออก L/C สังซื้อ) ได้อย่างไรถ้าไม่มีหลักประกัน ผู้ขายเป็นใครถึงมีเงินหลายร้อย(หลายพัน)ล้านบาท แต่มาเร่ขายปุ๋ยยูเรียราคาถูก

ที่สำคัญราคาจำหน่ายปุ๋ยยูเรียถูกกว่าราคาตลาดมาก ซึ่งเป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะปุ๋ยยูเรียเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง มีราคากลางของตลาดโลก มีผู้ซื้อ ผู้ขาย จำนวนมากพร้อมซื้อและขายทันที (เหมือนกับทองคำ) ถ้าราคาต่ำกว่าปกติเพียงเล็กน้อย ก็จะสามารถขายได้ทันที ไม่จำเป็นต้องมาเร่ขายให้กับเรา

โปรดระวัง ขอให้ท่านใช้วิจารณญาณและความระมัดระวังอย่างสูง มิฉะนั้นท่านอาจตกเป็นเหยื่อของบุคคลเหล่านี้ ทำให้เสียชื่อเสียง ทำให้เสียหาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลา บุคคลเหล่านี้ทำเพื่ออะไร หรือทำอย่างไรเพื่อหลอกลวงท่าน สนใจอยากรู้คำตอบ โทรปรึกษาหรือพูดคุยกับเราได้

สนใจซื้อปุ๋ยยูเรีย มีของจริง ราคาถูกจริง คุณภาพสูงจริง
กับเรา Thaifertilizer.com
• ได้รับอนุญาตให้นำเข้าปุ๋ยยูเรีย มีใบอนุญาตนำเข้าจริง

• ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายปุ๋ยยูเรีย มีทะเบียนปุ๋ยยูเรียจริง

• ได้รับการตรวจสอบคุณภาพปุ๋ยยูเรีย มีผลการวิเคราะห์คุณภาพปุ๋ยยูเรียคุณภาพสูงจริง

• มีประสบการณ์นำเข้าปุ๋ยยูเรียมาจากต่างประเทศจริง

ใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยยูเรีย

ใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยยูเรีย
ใบอนุญาตนำเข้าปุ๋ยยูเรีย

ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย (หนังสือสำคัญรับแจ้งปุ๋ยเคมีมาตรฐาน)

ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย
ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย

ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย (หนังสือสำคัญรับแจ้งปุ๋ยเคมีมาตรฐาน)

ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย2
ทะเบียนปุ๋ยยูเรีย2

แบบแจ้งรายการนำเข้าปุ๋ยยูเรีย

แบบแจ้งรายการนำเข้าปุ๋ยยูเรีย
แบบแจ้งรายการนำเข้าปุ๋ยยูเรีย

ใบขนสินค้าขาเข้า (ปุ๋ยยูเรีย)

ใบขนสินค้าขาเข้า (ปุ๋ยยูเรีย)
ใบขนสินค้าขาเข้า (ปุ๋ยยูเรีย)

โกดังปุ๋ยยูเรีย

โกดังเก็บปุ๋ยยูเรีย
โกดังเก็บปุ๋ยยูเรีย
โกดังเก็บปุ๋ยยูเรีย2
โกดังเก็บปุ๋ยยูเรีย2

ติดต่อ Thaifertilizer
ปุ๋ยยูเรีย ราคาถูก คุณภาพสูง